สรุปผลการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ และเสริมหนุน ตำบล/อำเภอคุณธรรมการอบรมพัฒนาศักยภาพเสริมหนุนนักเรียนแกนนำโรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา
(โรงเรียนประจำอำเภอลาดบัวหลวง) ชื่อกิจกรรมส่งเสริมความดี
เปิดบ้านคุณธรรม
ภายใต้โครงการส่งเสริมธรรมาภิบาลเพื่อต่อต้านการทุจริต
กิจกรรมลาดบัวหลวงอำเภอคุณธรรม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

     สำนักงานผู้ตรวจการแผนดินได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ และเสริมหนุน “ตำบล/อำเภอคุณธรรม” การอบรมพัฒนาศักยภาพเสริมหนุนนักเรียนแกนนำโรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา (โรงเรียนประจำอำเภอลาดบัวหลวง) ชื่อกิจกรรมส่งเสริมความดี “เปิดบ้านคุณธรรม” ร่วมกับโรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา และอำเภอลาดบัวหลวง เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ นักเรียนของโรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมภาคเช้า กว่า ๑๔๐ คน และภาคบ่ายกว่า ๔๐๐ คน การจัดกิจกรรมดังกล่าวได้มีการมอบรางวัลคลิปหนังสั้นส่งเสริมคุณธรรม และรางวัลสื่อเผยแพร่กิจกรรมส่งเสริมความดี ในการดำเนินงานตามคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน คือ ๑) วินัย ๒) พอเพียง และ ๓) จิตอาสา ซึ่งโรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยาได้มีการส่งเสริมให้ผู้บริหาร
ครู เจ้าหน้าที่ และนักเรียนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

     การจัดทำคลิปหนังสั้นส่งเสริมคุณธรรม และสื่อเผยแพร่กิจกรรมส่งเสริมความดี เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสร้างการรับรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบข้อมูลการดำเนินกิจกรรม การปลูกฝังค่านิยมสุจริต รวมถึงสื่อสารและเผยแพร่ให้กับบุคคลอื่น การนำเสนอการขับเคลื่อนคุณธรรมเป้าหมายและกิจกรรมส่งเสริมความดีของโรงเรียน ในรูปแบบสื่อเผยแพร่การดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นข้อมูลเผยแพร่สร้างการรับรู้ขับเคลื่อนตำบล/อำเภอคุณธรรม โดยการจัดกิจกรรม “เปิดบ้านคุณธรรม” มีการมอบรางวัลคลิปหนังสั้นส่งเสริมคุณธรรม จำนวน ๖ รางวัล และรางวัลสื่อเผยแพร่กิจกรรมส่งเสริมความดี จำนวน ๒๘ รางวัล/ชุด โดยจัดเป็นนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน สรุปดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

รางวัลที่ ๑ ได้แก่ เรื่อง “เด็กดีไม่มาสาย”

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

            รางวัลที่ ๑ ได้แก่ เรื่อง “เด็กดีไม่มาสาย” นำเสนอคุณธรรมเป้าหมายเรื่องวินัย (การเข้าเรียนให้ตรงเวลา) เนื้อหาของคลิปวิดีโอมีความสอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน วินัยต่อตนเอง การเข้าเรียนตรงเวลา เคารพกฎระเบียบของโรงเรียน คลิปวิดีโอมีการนำเสนอที่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย มีข้อคิดสอดแทรกในช่วงท้าย มีความสร้างสรรค์ในการนำเสนอปัญหาที่อยากแก้เรื่อง การเข้าเรียนไม่ตรงเวลา และเพิ่มปัญหาสังคมที่เป็นภัยร้ายแรง เช่น ยาเสพติด ซึ่งปัจจุบันถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมรณรงค์และแก้ไขปัญหา

รางวัลที่ ๒ ได้แก่ เรื่อง “ปิดน้ำเมื่อไม่ใช้ ปิดไฟหลังใช้งาน”

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

รางวัลที่ ๒ ได้แก่ เรื่อง “ปิดน้ำเมื่อไม่ใช้ ปิดไฟหลังใช้งาน” นำเสนอคุณธรรมเป้าหมายเรื่องพอเพียง (ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ) เนื้อหาของคลิปวิดีโอมีความสอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียนการรู้จักการพอเพียง พอประมาณ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ชี้ให้เห็นปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ มีข้อสรุปของปัญหาที่เข้าใจง่าย

รางวัลที่ ๓ ได้แก่ “แยกให้ถูกที่ ทิ้งให้ถูกถัง”

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

รางวัลที่ ๓ ได้แก่ “แยกให้ถูกที่ ทิ้งให้ถูกถัง” นำเสนอคุณธรรมเป้าหมายเรื่อง จิตสาธารณะ /วินัย (การทิ้งขยะให้ถูกที่) เนื้อหาของคลิปวิดีโอมีความสอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน นำเสนอให้เห็นปัญหาที่อยากแก้ได้อย่างชัดเจน คลิปวิดีโอมีการนำเสนอที่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รางวัลที่ ๑ ได้แก่ เรื่อง “HOW to ทิ้ง (ขยะ)”

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

                        รางวัลที่ ๑ ได้แก่ เรื่อง “HOW to ทิ้ง (ขยะ)” นำเสนอคุณธรรมเป้าหมายเรื่องวินัยอย่างชัดเจน (การคัดแยกขยะ) เนื้อหาของคลิปวิดีโอมีความสอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน มีการส่งเสริมให้เกิดวินัยการคัดแยกขยะ การทิ้งขยะให้ถูกที่ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญของโรงเรียน สะท้อนปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ รวมทั้งคลิปวิดีโอมีการนำเสนอที่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย มีความสร้างสรรค์ในการนำเสนอ

รางวัลที่ ๒ ได้แก่ เรื่อง “รองเท้าหนู ดูน่ามอง”

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รางวัลที่ ๒ ได้แก่ เรื่อง “รองเท้าหนู ดูน่ามอง” นำเสนอคุณธรรมเป้าหมายเรื่องวินัย (การเก็บรองเท้าให้เป็นระเบียบ) เนื้อหาของคลิปวิดีโอมีความสอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน ชี้ให้เห็นปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ มีกระบวนการแก้ไขปัญหาและนำเสนอผลของการแก้ไข มีข้อสรุปของปัญหาที่เข้าใจง่าย

รางวัลที่ ๓ ได้แก่ เรื่อง “รองเท้าเด่น เป็นระเบียบ”

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รางวัลที่ ๓ ได้แก่ เรื่อง “รองเท้าเด่น เป็นระเบียบ” นำเสนอคุณธรรมเป้าหมายเรื่อง วินัย(การเก็บรองเท้าให้เป็นระเบียบ) เนื้อหาของคลิปวิดีโอมีความสอดคล้องกับคุณธรรมเป้หมายของโรงเรียนคลิปวิดีโอมีการนำเสนอที่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ มีความสร้างสรรค์ในการนำเสนอ

รางวัลสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมความดี และสื่อเผยแพร่กิจกรรมส่งเสริมความดี

โรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา

คุณธรรมเป้าหมาย : ๑) วินัย ๒) พอเพียง ๓) จิตอาสา

นำเสนอคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนคุณธรรมเป้าหมาย ๑) วินัย ๒) พอเพียง ๓) จิตอาสา ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความดี

คุณธรรมเป้าหมาย “วินัย” และกิจกรรมส่งเสริมความดี

     โรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยาได้ดำเนินการขับเคลื่อนคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน คือ ๑) วินัย ๒) พอเพียง และ ๓) จิตอาสา และดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความดี  โดยส่งเสริมให้ผู้บริหารครู เจ้าหน้าที่ และนักเรียนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการดำเนินโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

     จากที่มาและความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับการรักษาวินัยของนักเรียน ผู้บริหาร และครูจึงได้นำแนวคิดปัญหาที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของเด็กนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน และได้มีการจัดทำโครงงานคุณธรรม หรือกิจกรรมส่งเสริมความดีเพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมเป้าหมาย “วินัย” ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้บริหาร และครูประจำชั้น เป็นที่ปรึกษาให้กับเด็กในการดำเนินโครงงาน โดยมีการดำเนินงานในชั้นเรียนต่าง ๆ และได้นำเสนอในการ
จัดนิทรรศการ ได้แก่

     ๑. เรื่อง ร่วมใจประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ รัดเข็มขัดประหยัดน้ำประหยัดไฟ ดำเนินการประชาสัมพันธ์คณะครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนเรื่องการประหยัดพลังงาน แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ดำเนินงานตามแผนที่กำหนด รณรงค์เรื่องการประหยัดน้ำและไฟฟ้าในแต่ละห้องเรียน จัดกิจกรรมแข่งขันประกวดวาดภาพ แต่งคำขวัญการรณรงค์ประหยัดพลังงาน สรุปผลและรายงานผล เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการประหยัดน้ำและไฟฟ้า

     ๒. เรื่อง แต่งกายดี เป็นศรีแก่ตน ดำเนินการวางแผนการดำเนินงานโครงการ ประชุมคณะครูนักเรียนเรื่องโครงงานคุณธรรมแต่งกายดี เป็นศรีแก่ตน สังเกตพฤติกรรมการแต่งกายของนักเรียน ประเมินผลโดยใช้เครื่องมือแบบบันทึกการแต่งกายของนักเรียนโดยใช้โปรแกรม Checker สรุปคะแนนความประพฤติของนักเรียนในแต่ละเดือน จัดกิจกรรมการประกวดการแต่งกายดีเป็นศรีแก่ตน มอบเกียรติบัตรให้กับนักเรียนชนะการประกวดและนักเรียนที่ไม่ถูกตัดคะแนนเครื่องแต่งกายในแต่ละเดือน รายงานและสรุปผลการดำเนินงาน  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการแต่งกายที่ถูกต้องและสวยงาม

     ๓. เรื่อง รองเท้าหน้าห้อง ดำเนินการวางแผนการดำเนินโครงการ สร้างความตะหนักรู้ความรับผิดชอบต่อตนเอง ออกแบบสร้างเกณฑ์ในการประเมิน ดำเนินการออกแบบป้ายเขตการวางรองเท้าหน้าห้อง จัดทำป้ายคุณธรรมโปสเตอร์เชิญชวนการมีวินัยตนเอง/สังคมส่วนรวม จัดดำเนินการกิจกรรมการประเมินห้องเรียน ทำเกียรติบัตรระดับชั้นเรียน สอบถามความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม ติดตามรายงานผลและสรุปผล เพื่อส่งเสริมความมีวินัยขั้นต้นเพื่อให้โรงเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

     ๔. เรื่อง ทิ้งขยะให้เป็นที่ เสริมราศีให้ห้องเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๓ จากที่มา
และความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ นักเรียนขาดวินัยในเรื่องการทิ้งขยะไม่ถูกที่ และไม่มีการแยกขยะการทิ้งของไม่ลงถังขยะ รวมทั้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วไม่นำไปทิ้งในถังขยะให้ถูกที่ ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและอันตรายต่อผู้อื่น จึงได้มีการจัดทำโครงงาน ทิ้งขยะให้เป็นที่ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนรู้จักลงมือทำความดี สร้างวินัยในการรักษาความสะอาดในโรงเรียน ให้มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และจิตอาสาในโรงเรียนและชุมชน

     ๕. เรื่อง คู่นี้ของฉัน คู่นั้นของเธอ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๔ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ นักเรียนถอดรองเท้าไม่เป็นระเบียบจึงทำให้รองเท้าหาย และบริเวณหน้าห้องไม่มีความเป็นระเบียบ จึงได้มีการจัดทำโครงงาน คู่นี้ของฉัน คู่นั้นของเธอ เพื่อฝึกการมีความรับผิดชอบ การปลูกฝังให้นักเรียนมีระเบียบ วินัย และความรับผิดชอบ

     ๖. เรื่อง Choo Choo Shoes ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ การวางรองเท้าไม่เป็นระเบียบ การใส่รองเท้าสลับกับของผู้อื่น และรองเท้าหายเป็นประจำจึงได้มีการจัดทำโครงการ Choo Choo Shoes เพื่อปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยให้กับเด็ก เพื่อให้บริเวณหน้าห้องเรียนมีความสะอาด และลดปัญหารองเท้าสูญหาย

     ๗. เรื่อง เขตบริการคือบ้านของเรา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๓ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ นักเรียนไม่ทำความสะอาดห้องเรียน ซึ่งเกิดจากการสาเหตุ เช่น นักเรียนไม่รู้หน้าที่ของตนเอง มาโรงเรียนสาย จึงได้มีการจัดทำโครงงาน เขตบริการคือบ้านของเรา เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญ ดูแลรักษาเขตรับผิดชอบให้เหมือนบ้านของตนเอง

     ๘. เรื่อง คู่ฉันอยู่ไหน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ จากที่มาและความสำคัญของปัญหา เกี่ยวกับการถอดรองเท้าหน้าห้องไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย และทำให้นักเรียนหารองเท้าไม่เจอ รองเท้าหายจึงได้จัดทำโครงการ คู่ฉันอยู่ไหน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความมีระเบียบวินัย ฝึกการมีความรับผิดชอบ

     ๙. เรื่อง ไม่แกล้งออม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๓ จากที่มาและความสำคัญของปัญหา เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน หากมีเหตุปัจจัยที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก  แต่หากไม่มีเงินเพียงพอก็อาจส่งผลกระทบต่อตนเองและคนรอบข้าง จึงได้จัดทำโครงการ ไม่แกล้งออม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักวางแผนการออมและตั้งเป้าหมายการออมทั้งในระยะสั้น และให้นักเรียนรู้จักวางแผนในการใช้จ่ายเงิน และมีวินัยในการออมและมีเงินออมไว้ในยามฉุกเฉิน

     ๑๐. เรื่อง เพื่อช่วยเพื่อน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒ จากที่มาและความสำคัญของปัญหา คือ นักเรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม และการมีส่วนร่วมตามที่โรงเรียนกำหนด และเข้าชั้นเรียนสาย การดำเนินกิจกรรมมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้มีความสามัคคีมากขึ้น และมุ่งเน้นให้มีการสื่อสารกันอย่างเข้าใจมากขึ้น

     ๑๑. เรื่อง แยกกันอยู่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๓ จากที่มาและความสำคัญของปัญหา คือ ปัญหาขยะในโรงเรียน ส่งผลเรื่องกลิ่น การทิ้งขยะรวมกันส่งผลต่อสภาพแวดล้อม จึงมีการจัดทำโครงงานเรื่อง แยกกันอยู่ เพื่อปลูกจิตสำนักให้ทำความดี การคัดแยกขยะ ขวดพลาสติก กล่องนม และกระดาษภายในโรงเรียน เพื่อสร้างวินัยในการรักษาความสะอาดในบริเวณโรงเรียน

     ๑๒. เรื่อง เขตพื้นที่สุดปัง ด้วยพลังจิตอาสา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓ จากที่มา
และความสำคัญของปัญหา คือ นักเรียนขาดความรับผิดชอบ มีปัญหาเรื่องการทิ้งขยะไม่เป็นที่ ทำให้พื้นที่บริเวณโรงเรียนสกปรก จึงได้มีการจัดทำโครงงานเรื่อง เขตพื้นที่สุดปัง ด้วยพลังจิตอาสา เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบ การมีระเบียบวินัย และเพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมของโรงเรียน“วินัย พอเพียง จิตอาสา” ตามที่กำหนดไว้

คุณธรรมเป้าหมาย “พอเพียง” และกิจกรรมส่งเสริมความดี

ปัจจุบันการส่งเสริมเรื่องความพอเพียงในการดำรงชีวิต เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง รูปแบบการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจพอเพียงหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน การใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ประหยัด และไม่มีวินัยในการออม การซื้อของที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าว ผู้บริหาร และครูจึงได้นำแนวคิดการแก้ไขปัญหา ตามแนวทาง ปัญหาที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของเด็กนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน และได้มีการจัดทำโครงงานคุณธรรม หรือกิจกรรมส่งเสริมความดีเพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมเป้าหมาย “พอเพียง” ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้บริหาร และครู

ประจำชั้น เป็นที่ปรึกษาให้กับเด็กในการดำเนินโครงงาน โดยมีการดำเนินงานในชั้นเรียนต่าง ๆ และได้นำเสนอในการจัดนิทรรศการ ได้แก่

     ๑. เรื่อง รู้จักรัดเข็มขัด ประหยัดอดออม ดำเนินการวางแผนการดำเนินงานโครงการ ประชาสัมพันธ์ครู นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนเรื่องการออมเงิน ครูที่ปรึกษาจัดทำบัญชีการออมเงินของนักเรียนในแต่ละวัน รณรงค์ให้นักเรียนออมเงินทุกคน ทุกวันและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการออมเงินครูที่ปรึกษาแต่ละห้องเรียนรวบรวมเงินของนักเรียนไปฝากเข้าบัญชีของธนาคารของโรงเรียน จัดกิจกรรมยอดนักออม โดยมอบเกียรติบัตรสำหรับนักเรียนที่ออมเงินเป็นประจำบ่อยมากที่สุดแต่ละระดับชั้น เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีนิสัยรักการออม มอบรางวัล “ยอดนักออม” ให้กับห้องเรียนที่มียอดการออมมากที่สุดประจำปีการศึกษา ประเมินผลและรายงานผล เพื่อส่งเสริมการออมเงินและการมีวินัยในการประหยัด ฝึกความพอเพียง

     ๒. เรื่อง ออมวันละนิด ชีวิตสดใส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ การใช้จ่ายเงินของนักเรียนมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การซื้อขนมที่ไม่เป็นประโยชน์ การเติมเงินโทรศัพท์เพื่อเล่นเกมส์ จึงได้มีการจัดทำโครงการ ออมวันละนิด ชีวิตสดใส เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนมีความพอเพียง รู้จักคิดก่อนใช้จ่ายเงิน สร้างความตระหนักและจิตสำนึกความพอเพียง

     ๓. เรื่อง พออยู่ พอกิน พอเพียง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๓ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ การขาดทักษะการดำเนินชีวิตในการพออยู่ พอกิน พอเพียง ที่ต้องอาศัยทักษะในการดำเนินชีวิต
ทั้งด้านความรู้ การคิด ใช้จ่ายเงินของนักเรียนมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การซื้อขนมที่ไม่เป็นประโยชน์ การเติมเงินโทรศัพท์เพื่อเล่นเกมส์ จึงได้มีการจัดทำโครงการ พออยู่ พอกิน พอเพียง เพื่อให้นักเรียนพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตและมีความตระหนักถึงความเป็นอยู่และการมีทัศนคติที่ดีต่อการดำรงชีวิตเรื่องความพอเพียง พออยู่ พอกิน และการปฏิบัติตามความรู้ทางด้านทฤษฎีและนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่ออนาคต

     ๔. เรื่อง ออมไว้ไม่ขัดสน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ การใช้จ่ายเงินของนักเรียนในแต่ละวัน ปัญหาที่พบมากที่สุดในห้องเรียนใช้จ่ายเงินไม่เป็น ซื้อของฟุ่มเฟือยไม่มีประโยชน์ ไม่รู้จักประหยัดและออมเงิน และการซื้อของที่ไม่มีประโยชน์ จึงได้มีการจัดทำโครงการ ออมไว้ไม่ขัดสน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออมเงิน ความพอเพียง การรู้จักคิดก่อนใช้จ่ายเงิน

     ๕. เรื่อง ลืมกันหรือป่าวนะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ การลืมปิดน้ำ ปิดไฟ ส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น การขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด จึงได้มีการจัดทำโครงการ ลืมกันหรือป่าวนะ เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนทั้งผู้บริหาร ครูและนักเรียนทุกคนหันมาช่วยกันประหยัดการใช้ทรัพยากร โดยช่วยกันปิดน้ำ ปิดไฟที่ไม่ได้ใช้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการใช้ไฟ และน้ำอย่างประหยัด

     ๖. เรื่อง พอแล้ว (ENOUGH) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๓ จากที่มาและความสำคัญ
ของปัญหาที่พบ คือ นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการเงิน การนำเงินมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่โรงเรียน การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงการรู้จักพึ่งตนเองความพอประมาณ พอมี พอกิน พอใช้ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง ได้มีการจัดทำโครงการ พอแล้ว (ENOUGH) เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

     ๗. เรื่อง แยกแยะไม่ออก แยกขยะก่อนก็ได้นะวัยรุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ การประสบปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นของโรงเรียน สร้างปัญหาทั้งด้านทัศนวิสัย กลิ่น ความสะอาด จากปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น และพบว่ามีขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่จำนวนมาก จึงได้มีการจัดทำโครงการ แยกแยะไม่ออก แยกขยะก่อนก็ได้นะวัยรุ่น เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักและความสำคัญของปัญหาขยะภายในโรงเรียน และจัดกิจกรรมการแยกขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ก่อนทิ้ง โดยนำหลักธรรมหรือเชื่อมโยงคุณธรรมเป้าหมายเรื่องความมีวินัย และความพอเพียง โดยการนำขยะไปขายเพื่อนำเงินที่ได้มาใช้จ่าย   

     ๘. เรื่อง กล้วยฯ ช่วยกันทำ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ ชุมชนชาวสวนกล้วยถูกกดราคา ไม่คุ้มค่าต่อการดูแล จึงได้มีการจัดทำโครงการ กล้วยฯ ช่วยกันทำ เพื่อศึกษาค้นคว้าความคุ้มทุนและนำกล้วยจากชุมชนมาแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่า และการปลูกจิตสำนึกในการแบ่งปัน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักทำการค้า การลงทุนในผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปผลผลิต และการนำผลผลิตไปขายและนำมาแบ่งปัน

คุณธรรมเป้าหมาย “จิตอาสา” และกิจกรรมส่งเสริมความดี

จากที่มาและความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกให้กับผู้บริหาร ครู และนักเรียนในการมีจิตอาสาเพื่อส่วนรวม การนำแนวคิดปัญหาที่อยากแก้ และความดีที่อยากทำ มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของโรงเรียนและให้นักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ มีส่วนร่วมดำเนินโรงการและกิจกรรม ได้มีการจัดทำโครงงานคุณธรรม หรือกิจกรรมส่งเสริมความดีเพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมเป้าหมาย “จิตอาสา” ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้บริหาร และครูประจำชั้น เป็นที่ปรึกษาให้กับเด็กในการดำเนินโครงงาน โดยมีการดำเนินงานในชั้นเรียนต่าง ๆ และได้นำเสนอในการจัดนิทรรศการ ได้แก่

     ๑. เรื่อง การกำจัดขยะภายในโรงเรียน นำเสนอการวางแผนการดำเนินโครงการ
การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมลูก ลพว. รักษ์สะอาด ขวดแลกแต้ม การติดตาม ประเมินผล รายงานและสรุปผลโครงการ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักความสะอาด การสร้างจิตสำนึกจิตอาสาในการทำความดีเพื่อส่วนรวม

     ๒. เรื่อง วัยใส ใจอาสา นำเสนอการวางแผนการดำเนินโครงการปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาคุณธรรมของนักเรียน กิจกรรมด้านการพัฒนาโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมอิสลาม (ห้องจริยธรรมอิสลาม) กิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมพุทธ (สวดมนต์ไหว้พระประจำสัปดาห์) กิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนการนำเสนอข่าวสาร สาระความรู้ และคุณธรรมผ่านป้ายนิเทศ กิจกรรมเสียงตามสาย กิจกรรมด้านการส่งเสริมการทำความดี การยกย่องเชิดชูนักเรียนที่ทำความดีหน้าเสาธง มอบเกียรติบัตรเชิดชูความดีแก่นักเรียนจิตอาสายอดเยี่ยม ติดตามสำรวจความพึงพอใจในการทำกิจกรรม ประเมินผล และสรุปผลโครงการ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสาและเป็นคนดีมีคุณธรรม

     ๓. เรื่อง ห่อให้ด้วยค่ะ ห่อให้ด้วย ลูกใครหลานใครหล่ะพ่อ หล๊อ หล่อ …ห่อให้ด้วย… ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๒ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ การใช้ผ้าอนามัยที่ใช้แล้วเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค การทิ้งโดยไม่ห่อให้มิดชิด ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค จึงได้มีการจัดทำโครงการ ห่อให้ด้วยค่ะ ห่อให้ด้วย ลูกใครหลานใครหล่ะพ่อ หล๊อ หล่อ …ห่อให้ด้วย… เพื่อจัดทำกระดาษสำหรับห่อผ้าอนามัยที่ใช้แล้ว สำหรับนักเรียนหญิงไว้ใช้ในห้องน้ำ เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมด้านจิตอาสา จิตสาธารณะ การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมให้กับนักเรียนทุกคนในการมีส่วนร่วมจัดทำห่อผ้าอนามัยจากการดาษและวัสดุเหลือใช้   

     ๔. เรื่อง ๒/๔ จิตอาสาขยะจ๋าต้องหมดไป ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๔ จากที่มา
และความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ นักเรียน ทิ้งขยะไม่เป็นที่ มีขยะตามจุดต่าง ๆ มีการทิ้งเศษกระดาศตามซอกเก้าอี้ จึงมีความสนใจที่จะทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดสิ้นไป และได้จัดทำโครงงาน ๒/๔ จิตอาสาขยะจ๋าต้องหมดไป เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบของนักเรียนต่อส่วนรวม การช่วยกันรักษาความสะอาดของโรงเรียนและทิ้งขยะให้ลงถัง มีการฝึกความรับผิดชอบหน้าที่เวรประจำวันด้วยจิตอาสา เพื่อปลูกฝังความรับผิดชอบให้กับนักเรียน

     ๕. เรื่อง ๓/๔ พลังมด ช่วยลดขยะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๔ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ ขยะที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรีภาพด้านสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการจัดทำโครงการ ๓/๔ พลังมดช่วยลดขยะ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การปลูกฝังเรื่องความสำคัญและการปฏิบัติในเรื่องการลดขยะ การร่วมมือกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและในชุมชน และการมีจิตอาสา โดยผู้บริหาร และครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน

     ๖. เรื่อง สิ่งแวดล้อมสวยด้วยมือเรา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๒ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ ผลของภาวะโลกร้อนในปัจจุบันที่มีสภาวะอากาศที่ร้อนขึ้นจากปีก่อน และส่งผลกระทบถึงชุมชนที่นักเรียนอยู่อาศัย สาเหตุจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์ และตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งการส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงได้มีการจัดทำโครงงานคุณธรรม สิ่งแวดล้อมสวยด้วยมือเรา เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

     ๗. เรื่อง ห้องเรียนสะอาด เริ่มที่ตัวเรา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓ จากที่มาและความสำคัญของปัญหาที่พบ คือ นักเรียนนำขนมและน้ำดื่มเข้าไปรับประทานในห้องเรียน การไม่เก็บสิ่งของ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว จึงได้มีการจัดทำโครงงานคุณธรรม ห้องเรียนสะอาด เริ่มที่ตัวเรา เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และช่วยกันรักษาความสะอาดของห้องเรียน สร้างความตระหนักและจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่เวรประจำวัน
ด้วยจิตอาสา

ภาพการนำเสนอนิทรรศการ “เปิดบ้านคุณธรรม”

ระดับมัธยมตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)

เรื่องวินัย

เนื้อหาของโครงการโรงเรียน 1 ห้องเรียน 1 โครงการคุณธรรม นำแสดงออกมาเป็นนิทรรศการสรุปโดยภาพรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย โดยรณรงค์ให้ช่วยกันประหยัดด้วยปิดน้ำ ปิดไฟรวมไปถึงการทำความสะอาดห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนมีวินัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโรงเรียน

เรื่องจิตอาสา

เนื้อหาของโครงการโรงเรียน 1 ห้องเรียน 1โครงการคุณธรรม นำแสดงออกมาเป็นนิทรรศการสรุปโดยภาพรวมมีวัตถุประสงค์รณรงค์ สร้างความตระหนัก และจิตสำนึกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

เรื่องพอเพียง

เนื้อหาของโครงการโรงเรียน 1 ห้องเรียน 1โครงการคุณธรรม นำแสดงออกมาเป็นนิทรรศการสรุปโดยภาพรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อรู้จักการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สามารถต่อยอดกับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม