ความเป็นธรรมที่เข้าถึงได้

         สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้จัดทำช่องทางการร้องเรียนต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการร้องเรียน

         หากท่านได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ หรือมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือขั้นตอนปฏิบัติงานใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็น หรือเกินสมควรแก่เหตุ สามารถแจ้งหรือร้องเรียนได้ที่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามช่องทางด้านล่างนี้

ท่านสามารถร้องเรียนมายังสำนักงานผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


ร้องเรียนทางสายด่วน 1676 (โทรฟรีทั่วประเทศ)

โทรศัพท์ไปยังสำนักงาน หมายเลข 1676 (โทรฟรีทั่วประเทศ)
แจ้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี) ของผู้ร้องเรียน
แจ้งเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขที่หนังสือ เดินทางของผู้ร้องเรียน


ร้องเรียนทางสมาร์ทโฟน

ท่านสามารถร้องเรียนผ่าน Application ชื่อว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดิน”
โดยติดตั้ง Application ลงบนสมาร์ทโฟนของท่าน
ผ่านระบบ iOS และ Android


ร้องเรียนทางอินเทอร์เน็ต

www.ombudsman.go.th www.ผู้ตรวจการแผ่นดิน.com www.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.com
ท่านสามารถร้องเรียนผ่านเว็บไซต์สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

คลิ๊กร้องเรียน


ร้องเรียนทางไปรษณีย์

ทำหนังสือร้องเรียนส่งไปยัง
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 หรือ
ตู้ ปณ.333 ปณฝ.ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ 10215


ร้องเรียนผ่านเครือข่ายของผู้ตรวจการแผ่นดิน

ทำหนังสือร้องเรียนโดยยื่นผ่านสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการจังหวัดทั่วประเทศสภาทนายความ และสำนักงานสาขาของสภาทนายความทั่วประเทศ


ร้องเรียนผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
หรือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

ทำหนังสือร้องเรียนโดยยื่นผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ส.ส.) หรือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)


ร้องเรียนด้วยตนเอง

ณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

ในกรณีร้องเรียนเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไป

 

  1. ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องเรียน
  2. ระบุเหตุที่ทำให้ต้องร้องเรียนพร้อมด้วยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนตามสมควร
  3. ใช้ถ้อยคำสุภาพ
  4. ลงลายมือชื่อผู้ร้องเรียน

(หากต้องการปกปิดชื่อผู้ร้องเรียนขอให้แจ้งด้วย) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จะรักษาเป็นความลับอย่างเคร่งครัด