ผู้ตรวจการแผ่นดิน แก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน กรณีผลกระทบจากการประกอบกิจการดูดทราย ในพื้นที่อำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดตรัง

ผู้ตรวจการแผ่นดิน แก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน กรณีผลกระทบจากการประกอบกิจการดูดทราย ในพื้นที่อำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดตรัง

เมื่อปี 2546 รัฐบาลได้มีนโยบายการดำเนินการเกี่ยวกับการขุดลอกห้วย หนอง คลองบึง ลำน้ำ ทะเลสาบ ที่ชายทะเล และแม่น้ำ เพื่อเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่ประสบเป็นประจำให้มีความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และให้จังหวัดสามารถบูรณาการแผนงานในการป้องกันและแก้ไขปัยหาอุทกภัย และภัยแล้งในภาพรวมทั้งจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทิผล โดยมีหลักการว่า ให้ประชาชนหรือเอกชนมีส่วนร่วมในการขุดลอกและสามารถที่จะนำกรวด หิน ดิน ทราย ที่ได้จาการขุดลอกไปค่าจ้างขุดลอกได้ หรือให้ทางราชการนำไปเป็นประโยชน์ของทางราชการได้

การดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำสาะรณประโยชน์ที่อยู่ในอำนาจการดูแลรักษาของกระทรวงมหาดไทย และแหล่งน้ำที่อยู่ในอำนาจการดุแลรักษาของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้ง ก่อให้เกิดประโยชนืสูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่

ทรายถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์  ในปัจจุบันมีความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการก่อสร้างตั้งแต่อาคารทั่วไป จนถึงสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามบิน อาคาร ถนนหนทาง ซึ่งจากความต้องการใช้ทรายในปริมาณมากนี้ ทำให้ต้องมีการควบคุมการอนุญาตให้ดูดทรายเพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมข้างเคียงพื้นที่แหล่งทรายไว้ การประกอบกิจการ ขุด ตัก ลอก หรือดูดทรายที่ขาดการบริหารจัดการที่ดี ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปัญหาต่อระบบนิเวศวิทยา การเปลี่ยนแปลงสภาพของดิน การเปลี่ยนแปลงทางเดินของน้ำ การทรุดตัวของปัญหาคุณภาพน้ำ รวมถึงปัญหามลพิษที่เกิดจากการประกอบกิจการดูดทรายด้วย

ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่อำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดตรังให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการลักลอบดูดทรายโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นเหตุให้ตลิ่งพังและถนนชำรุดเสียหายที่เกิดจากการขนส่งทราย เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์) ได้มอบหมายให้รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (นาวทัญญู  ทิพยมณฑา) และเจ้าหน้าที่สอบสวน ลงพื้นที่แสวงหาข้อเท็จจริงพร้อมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  พบว่า  การดูดทรายในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการประกอบกิจการขุด ตัก ดูดหรือร่อน คัดขนาดทรายในที่ดินกรรมสิทธิ์และได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม มีจำนวน 6 บ่อ ประกอบด้วย บ่อทรายของหมู่ที่ 5 ตำบลแห่งหนึ่ง จำนวน 1 บ่อ  บ่อทรายของหมู่ที่ 1, 6, 8 ตำบลแห่งหนึ่ง จำนวน 3 บ่อ และบ่อทรายของหมู่ 5 ตำบลแห่งหนึ่ง จำนวน 2 บ่อ โดยเป็นบ่อทรายที่ยังประกอบกิจการ 2 บ่อ ส่วนอีก 4 บ่อ ได้หยุดการประกอบกิจการแล้ว  ซึ่งทั้งหมดดำเนินการในที่ดินกรรมสิทธิ์ และได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีทำเลที่ตั้งทั้งหมดอยู่ติดกับคลองลำพิกุล แม่น้ำสายสำคัญของ อ.ย่านตาขาว และ อ.นาโยง ซึ่งขนาดความกว้างและความตื้นของคลองลำพิกุลมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

มติที่ประชุมได้รับทราบถึงการดำเนินการที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรมในเรื่องของการดูดทราย โดยให้มีการจัดตั้งคณะทำงานสุ่มตรวจบ่อทรายต่างๆ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำผิดอีก รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการเกี่ยวกับเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะต้องพิจารณาอนุญาตว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไร โดยให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รวมทั้งขอให้สำนักงานที่ดินร่วมกับเจ้าของผู้ประกอบการดูดทราย ยื่นทำการสอบรังวัดแนวเขตกรรมสิทธิ์ รวมทั้งแนวเขตของคลองลำพิกุล เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยให้ผู้ประกอบการทำป้ายปักแสดงแนวเขตให้ชัดเจน รวมทั้งทำคันดินกั้นระหว่างพื้นที่กรรมสิทธิ์กับลำคอลง หรือที่ดินสาธารณะ ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับทรัพยากร

ต่อมา  ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์) ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน โดยได้รับรายงานความคืบหน้าว่า อำเภอแห่งหนึ่งได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดูดทรายในท้องที่อำเภอแห่งหนึ่งและเข้าตรวจสอบพื้นที่ที่มีการดูดทราย ในพื้นที่แล้ว สรุปผลมีผู้ประกอบกิจการโรงงานขุด ตัก ดูดหรือร่อน คัดขนาดทรายในที่ดินกรรมสิทธิ์ในท้องที่อำเภอแห่งหนึ่งจำนวน 6 ราย ยังประกอบกิจการโดยอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 ราย และแจ้งเลิกประกอบกิจการ จำนวน 3 ราย ซึ่งบ่อทรายที่เคยเป็นปัญหาบริเวณที่ตลิ่งพังเสียหาย ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการดูดทราย ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมันแล้ว

พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่ตรวจสอบคอสะพาน รวมทั้งถนนในพื้นที่ ตำบลแห่งหนึ่ง  ที่ชาวบ้านร้องเรียนว่าคอสะพานทรุดเนื่องจากผลกระทบการดูดทรายนั้น จากการตรวจสอบพบว่า เกิดจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2560 ส่วนถนนทางหลวงไม่ได้รับผลกระทบอย่างใด แต่พบการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายหลายประการ และเกิดความเสียหายต่อทรัพยากร จึงสั่งการให้ทางจังหวัดเร่งดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขบริเวณสะพานให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาโครงสร้างทรุดจากน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีก

ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้มีคำวินิจฉัยแล เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการในประเด็น ดังต่อไปนี้

1.  เมื่ออำเภอมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดูดทรายในพื้นที่ให้คณะกรรมการดังกล่าวดำเนินการดังต่อไปนี้

1.1 ดำเนินการตรวจสอบบ่อทรายในท้องที่ที่หยุดประกอบกิจการทั้ง 4 บ่อ ให้ได้ข้อเท็จจริงว่าหยุดประกอบกิจการเมื่อใด

1.2  ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและติดตามแก้ไขว่าในพื้นที่ของอำเภอมีการขุด ตัก ลอก หรือดูดทรายหรือดินในที่ดินกรรมสิทธิ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ขออนุญาตหรือไม่ โดยให้ดำเนินการตรวจสอบบ่อทรายที่ประกอบกิจการติดกับลำคลองเป็นพิเศษ

1.3  อธิบายและเผยแพร่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนดและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขุด ตัก ลอก หรือดูดทรายหรือดินในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือในที่ดินของรัฐ

2. ให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา และโครงการชลประทานตรวจสอบสภาพคลองลำ และบ่อทรายที่อยู่ติดกับคลองดังกล่าว

3.  ให้จังหวัดเร่งแก้ไขปัญหาการชำรุดเสียหายของคอสะพานบริเวณวัด โดยการถมหินบริเวณคอสะพาน และขอความร่วมมือจากโครงการชลประทานในการทำรอดักน้ำ เพื่อป้องกันการกัดเซาะคอสะพานเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก

4.  ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดออกคำสั่งให้มีการรังวัด ปักหมุดแสดงแนวเขตพื้นที่บริเวณ บ่อทรายของผู้ประกอบการที่ยังประกอบกิจการดูดทราย รวมทั้งบ่อทรายบริเวณที่ตลิ่งพังเสียหาย ให้มีการรังวัด ปักหมุดแสดงแนวเขตพื้นที่ ถมดินและทำคันดินตามแนวเขตที่ดินของตน เพื่อให้สภาพของคลองกลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนที่จะมีการพังทลายของตลิ่ง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับ คำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน