ผู้ตรวจการแผ่นดิน-กรมกิจการผู้สูงอายุ- สปสช.-สสส. –กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมถึงภาคีพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น 55 แห่งทั่วประเทศ สานพลังเตรียมความพร้อมรับมือสังคมสูงวัยให้ครอบคลุมทุกมิติ สู่การแก้ปัญหาผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม หลังพบปี 64 ผู้สูงอายุมีจำนวนสูงถึง 13.3 ล้านคน

     ผู้ตรวจการแผ่นดินกรมกิจการผู้สูงอายุสปสช.-สสส. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมถึงภาคีพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น 55 แห่งทั่วประเทศ สานพลังเตรียมความพร้อมรับมือสังคมสูงวัยให้ครอบคลุมทุกมิติ สู่การแก้ปัญหาผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม หลังพบปี 64 ผู้สูงอายุมีจำนวนสูงถึง 13.3 ล้านคน

     เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น การจัดกิจกรรมครั้งนี้นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้กล่าวถึงแนวทางการนำนโยบายสู่การสร้างปฏิบัติการ และพัฒนางานสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 20 ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นการตระหนักรู้และการเตรียมความพร้อมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยได้กำหนดแนวทางการศึกษาระบบกลไกระดับพื้นที่ 3 ระดับ 1. ระดับตำบล  โดย อปท.ในพื้นที่และมีทุนทางสังคม มีศูนย์การเรียนรู้หน่วยบริการสุขภาพ ศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ธนาคารเวลา และศูนย์ฝึกอบรมระบบต่าง  2.ระดับอำเภอ โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ส่งเสริม และเชื่อมประสานหน่วยงาน ช่วยสนับสนุนอปท. และเครือข่ายระดับตำบลให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น 3. เชื่อมประสานระดับจังหวัด เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ท้องถิ่นจังหวัด เพื่อเตรียมพร้อมรองรับสังคมสูงวัยให้ครอบคลุมทุกมิติ ให้เป็นต้นแบบ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพโดยร่วมกันประสานการทำงานให้ได้บทสรุปและข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่น และศึกษาจากหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ นำมาถอดบทเรียน สังเคราะห์เพื่อมีข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ เสนอต่อหน่วยงานภาครัฐในระดับนโยบายต่อไป โดยอาศัยหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินพ.. 2560 มาตรา 22 (3) และมาตรา35

     ด้วยความสำคัญในการเตรียมพร้อมเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ กลไก และนวัตกรรมการนำนโยบายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสู่การสร้างการปฏิบัติการในพื้นที่ จึงกำหนดการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน 4 องค์กรระหว่างสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดย พันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน  กรมกิจการผู้สูงอายุ โดยนางสาวชวนชม จันทะวงษ์ รองเลขาธิการกรมกิจการผู้สูงอายุ  สำนักงานหลักประกันสุขภาพโดยนายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดย ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนการสร้าง

     เสริมสุขภาพ ตลอดจนผู้แทนศูนย์เชี่ยวชาญ ศูนย์ประสานงาน และเครือข่ายฯ พื้นที่ภาคเหนือ ผู้แทนศูนย์เชี่ยวชาญ ศูนย์ประสานงาน และเครือข่ายฯ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์เชี่ยวชาญ ผู้แทนศูนย์ประสานงาน และเครือข่ายฯ พื้นที่ภาคกลาง  และ ผู้แทนศูนย์เชี่ยวชาญ ศูนย์ประสานงาน และเครือข่ายฯ พื้นที่ภาคใต้ ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 55 แห่ง

     ความสำคัญของการลงนามในครั้งนี้แสดงถึงพลัง ความตั้งมั่น ความมีส่วนร่วม ตลอดจนความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินงานตามขอบเขตของแต่ละองค์กร ดังนี้

     1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับสังคมสูงวัย และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น

     2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาและใช้ระบบข้อมูลซึ่งเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและการบริหารจัดการเพื่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น

     3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเสริมศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ในการพัฒนาระบบ กลไก และนวัตกรรมการนำนโยบายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสู่การสร้างปฏิบัติการในพื้นที่

     4. ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายผลจากการเรียนรู้ต้นแบบและแนวทางการเสริมศักยภาพระบบ กลไก และนวัตกรรมในการขับเคลื่อนปฏิบัติการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและดูแลผู้สูงอายุ

     5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาข้อเสนอสำหรับหน่วยงานรัฐในการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

     โดยที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจะร่วมกับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกันสังเคราะห์และถอดบทเรียน สรุปความรู้ที่ได้จากพื้นที่ทดลองตัวอย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป