ผู้ตรวจการแผ่นดิน หยิบยก Phuket Smart City ที่มีความล่าช้าเร่งขับเคลื่อน และหาแนวทางให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

     จังหวัดภูเก็ต ได้รับขนานนามว่า เมืองไข่มุกแห่งอันดามัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก สร้างรายได้ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ถือเป็นโครงการและความตั้งใจของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะให้เมืองเชื่อมโยงกันด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความพร้อมในทุกมิติ ทั้งในด้านเทคโนโลยี ความปลอดภัย การขนส่งมวลชน สิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และการพัฒนาเมือง เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งจังหวัดภูเก็ตถือเป็นจังหวัดนำร่องจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยในการสร้างเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เมื่อปี 2561 เกิดเหตุการณ์เรือท่องเที่ยวฟีนิกส์ อัปปางกลางทะเลภูเก็ต มีนักท่อเที่ยวเสียชวิตทำให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ ส่งผลต่อเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของประเทศไทยในด้านความปลอดภัย พร้อมกับการเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจและธุรกิจการท่องเที่ยวต้องชะลอตัวและหยุดชะงักลง  

     จากการเกิดสถานการณ์ ดังกล่าวทำให้การพัฒนาภูเก็ต สมาร์ทซิตี้ ต้องเผชิญกับความท้าทาย เกิดปัญหาความล่าช้า  และเกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการกู้วิกฤตประเทศไทยและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้หยิบยก กรณี การดำเนินโครงการพัฒนามาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องของประเทสไทย ยังไม่มีความคืบหน้า ก่อให้เกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการอย่างหลีกเลี่ยงม่ได้ ทั้งนี้ ปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ โครงการบริการข้อมูลของจังหวัด ( Phiket Smart City Data Platform : Service Layer) ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA จัดทำขึ้นึ่งจะเป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยพัฒนาและต่อยอดจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองอัจฉริยะ โดยบูรณาการทางด้านข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการแลพแก้ไขปัญหาเมือง 3 ด้าน คือ การท่องเที่ยวปลอดภัย สิ่วงแวดล้อม และอสังหาริมทรัพยื โดยมีเป้าหมายเพือเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ตเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้งให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลพื้นฐาน และหน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้  

     ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เล็งเห็นว่า ในการดำเนินการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในการดำเนินงานที่ต้องมีผู้ให้คำแนะนำด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จำเป็น เพื่อส่งเสริมให้เกิด Smart City ขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้บูรณาการงานร่วมกับจังหวัดภูเก็ต สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือ พร้อมลงพื้นที่แสวงหาข้อเท็จจริง  รับฟังสภาพปัญหาและติดตามการดำเนินงานและหาแนวทางแก้ไข

–  ติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการท่าเรืออัจฉริยะ ณ ท่าเทียบเรืออ่าวปอ รวมถึงการใช้สายรัดข้อมือริสแบนด์กับนักท่องเที่ยวเพื่อทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุม เพื่อช่วยเหลือและติดตามตำแหน่งนักท่องเที่ยว และระบบลงทะเบียนผู้โดยสารทางทะเลกลางผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

–  ติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ จังหวัดภูเก็ต ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับมาตรการเพื่อเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยว Phuket Tourism Sandbox ที่มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับรับกับมาตรการเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวตามสถานการณ์การแพร่ราดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  โดยการติดตั้งระบบการลงทะเบียนเข้าประเทศ ระบบยืนยันการจองห้องพัก ระบบติดตามบุคคลโดยการตรวจจับใบหน้า (Smart Gate) ระบบข้อมูล Dashboard ที่แสดงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้า ออกและเป็นระบบแจ้งเตือนที่ใช้ในการกำกับติดตามการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และคนไทยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ

     ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับสถานการณ์และให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ในการพัฒนา
ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นปัจจัยการขับเคลื่อนที่สำคัญนำเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้กับมาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมให้โครงการ ภูเก็ต สมาร์ทซิตี้ เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม