หน่วยงานรัฐไม่แจ้งสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือเยียวยาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

หน่วยงานรัฐไม่แจ้งสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือเยียวยาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ในการที่จะได้รับความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ในเรื่องของค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดี ซึ่งรัฐมีหน้าที่ที่จะต้องจัดการในเรื่องดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายและจำเลย ในกรณีที่เขาถูกรัฐกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดและได้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นแล้ว และถูกคุมขัง อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีทั้ง ๆ ที่เขามิได้เป็นผู้กระทำความผิดให้ได้รับการชดเชยหรือเยียวยาจากรัฐตามสมควร และในขณะเดียวกันรัฐก็มีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนถูกล่วงละเมิดในทางอาญา หากมีผู้กระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น รัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี
เพื่อลงโทษตามกฎหมายต่อไป

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ให้ความหมายของคำว่า “ผู้เสียหาย” ว่าหมายถึง “บุคคล  ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนได้” และตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ได้กำหนดความหมายของคำว่า “ผู้เสียหาย”ว่าหมายถึง “บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น” จากคำนิยามของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวจะเห็นว่า “ผู้เสียหาย” นั้นคือบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น ดังนั้นจึงมีเหตุอันสมควรที่ผู้เสียหายจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ไม่ว่าในขั้นตอนใด ๆ ของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการสืบสวนสอบสวนโดยเจ้าพนักงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสิทธิในการได้รับการเยียวยาจากรัฐของผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาสิทธิในการได้รับการเยียวยาจากรัฐของผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา จุลนิติ มกราคม – กุมภาพันธ์  2552 ขั้นตอนการฟ้องคดี โดยพนักงานอัยการ การพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาล รวมทั้งขั้นตอนของการลงโทษ โดย กรมราชทัณฑ์ ผู้เสียหายที่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมายดังกล่าวจะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่นโดยที่ตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในการกระทำความผิดนั้น

จากเนื้อหาสาระดังกล่าวเบื้องต้น จึงขอนำเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับ “ผู้เสียหาย” ที่สามารถขอรับการเยียวยาจากรัฐได้ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เป็นเรื่องที่ผู้ร้องเรียนถูกทำร้ายร่างกายและได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข เพื่อดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม โดยผู้ร้องเรียนได้กล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุขไม่ได้แจ้งสิทธิเกี่ยวกับการได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาแต่อย่างใด ต่อมาผู้ร้องเรียนทราบว่า  ผู้ร้องเรียนมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 จึงได้มีหนังสือร้องเรียนถึงผู้ตรวจการแผ่นดินให้ช่วยแสวงหาข้อเท็จจริงกับสถานีตำรวจนครบาลอุดมสุขที่ไม่แจ้งสิทธิเป็นเหตุให้  ผู้ร้องเรียนเสียสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมาย เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียน ได้ชี้แจงและแจ้งให้ผู้ร้องเรียนได้ทราบถึงขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  พร้อมประสานเจ้าหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ที่เกี่ยวข้องให้แจ้งดำเนินการให้ผู้ร้องเรียน ได้ทราบอีกทางหนึ่งด้วย

ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือให้สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุขชี้แจงข้อเท็จจริงและส่งเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และได้เชิญผู้แทนจาก กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 และสถานีตำรวจนครบาลอุดมสุขเข้าร่วมประชุมพิจารณาเรื่องร้องเรียน ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ผู้แทนกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 และสถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข ได้รับทราบปัญหาและแจ้งว่าจะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เกี่ยวข้องประสานเชิญผู้ร้องเรียนเข้าทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 อีกครั้งหนึ่ง

ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สรุปได้ว่าตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาตรา 6/1 กำหนดให้พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งผู้เสียหายหรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายที่มาร้องทุกข์ทราบถึงสิทธิการได้รับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา ประกอบกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2557 เพื่อให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติหน้าที่ในการแจ้งสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลอุดมสุขจึงมีหน้าที่ในการแจ้งสิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 แก่ผู้ร้องเรียน

สถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่งได้ชี้แจงข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า สถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่งได้สั่งการให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้ชี้แจงข้อเท็จจริง โดยในวันที่สอบปากคำผู้ร้องเรียน พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้ผู้ร้องเรียนทราบและให้ผู้ร้องเรียนอ่านกระดาษ ที่มีข้อความแจ้งสิทธิดังกล่าว ซึ่งติดไว้ที่โต๊ะพนักงานสอบสวนแล้ว และหลังจากประชุมร่วมกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่งได้ประสานและเชิญผู้ร้องเรียนเข้าพบ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ร้องเรียนอีกครั้งหนึ่งแล้วด้วย

ต่อมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับการชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากผู้ร้องเรียนผ่านทางโมบายแอปพลิเคชันของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน  โดยผู้ร้องเรียนแจ้งว่าสถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่งได้เชิญผู้ร้องเรียนเข้าพบ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง และผู้ร้องเรียนได้บันทึกคำให้การว่าไม่ติดใจที่จะร้องเรียนอีกต่อไป และขอถอนเรื่อร้องเรียนดังกล่าว

จากกรณีเรื่องร้องเรียนดังกล่าวข้างต้น หากท่านเป็น “ผู้เสียหาย” หรือเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น สามารถขอรับการเยียวยาจากรัฐได้ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 โดยยื่นคำขอได้ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทุกแห่ง สถานีตำรวจทั่วทุกสถานี สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้สามารถยื่นคำขอได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รู้ถึงการกระทำความผิด หรือนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี