เขื่อนริมคลอง

เขื่อนริมคลอง

ลุงไสว อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณริมคลองแห่งหนึ่ง กระทั่งกรุงเทพมหานคร ได้มีโครงการสร้างเขื่อนริมคลองขึ้น จึงได้ว่าจ้างให้บริษัทผู้รับเหมามาดำเนินการก่อสร้างแต่ระหว่างก่อสร้างนั้น บริษัทดังกล่าว กลับใช้วิธีไม่เหมาะสมในการเจรจาเพื่อให้ชาวบ้านย้ายออกไป ทั้งยังจ่ายค่าชดเชย
ในอัตราที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนั้นบริษัทดังกล่าวยังได้ทิ้งงานหนีไปอีก ลุงไสว จึงเป็นตัวแทนชุมชนส่งเรื่องร้องเรียนมายังผู้ตรวจการแผ่นดินให้ช่วยแก้ไขเรื่องนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้สอบถามข้อเท็จจริงไปยังกรุงเทพมหานคร(กทม.) พบว่าในสัญญาของโครงการก่อสร้างเขื่อนริมคลองนั้น
ได้ระบุให้ผู้รับเหมาเป็นผู้เจรจาและเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยในการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างให้กับชาวบ้านที่รุกล้ำบริเวณริมคลอง ต่อมาผู้รับเหมารายนี้ได้ทิ้งงาน ทำให้การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลง กทม. จึงต้องหาผู้รับเหมารายใหม่มาทำงานแทน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสรรหาอยู่เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้ว
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเข้ามาช่วยประสานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการไกล่เกลี่ยอย่างสันติวิธี ด้วยการเชิญตัวแทนทั้งฝ่ายชาวบ้านและกทม. มาตกลงร่วมกัน โดยเริ่มจากเรื่องการจ่ายค่าทดแทนการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณที่อยู่อาศัย ได้ตกลงให้คิดเป็นต่อตารางเมตรตามอัตรามาตรฐานของ กทม. และส่วนในบริเวณอื่นของบ้าน ให้คิดตามที่ตกลงกันไปในแต่ละกรณีในที่ประชุมมีข้อตกลงว่า หลังจากชาวบ้านได้รับค่าทดแทนแล้ว ต้องทำการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน ก่อนการสร้างเขื่อน ซึ่งทาง กทม. จะแจ้งกำหนดการให้ทราบในภายหลังในขณะนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า ยังไม่มีการก่อสร้างใดๆ เพราะอยู่ในระหว่างการหาผู้รับเหมา รายใหม่ จึงเสนอให้ กทม. อนุญาตให้ชาวบ้านได้อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นไปก่อน จนกว่า กทม. จะหาผู้รับเหมารายใหม่ได้และได้จ่ายค่าทดแทนเสร็จสิ้นเมื่อข้อตกลงเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงยุติการพิจารณา ขณะที่ลุงไสว และชาวบ้านรายอื่น ก็มีโอกาสได้รับค่าชดเชยอย่างเป็นธรรมและมีเวลาเพิ่มขึ้นในการหาที่อยู่ใหม่