ผู้ตรวจการแผ่นดินจัดเสวนาอาชญากรรมไซเบอร์ กระตุ้นสังคมรู้เท่าทันมิจฉาชีพ

     วันนี้ (14 มิถุนายน 2566) นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน นายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เข้าร่วมงานเสวนาถกประเด็นอาชญากรรมไซเบอร์ พร้อมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม (Place of Justice) กระตุ้นการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันตอบโต้ ภัยคุกคามใกล้ตัวพี่น้องประชาชน ณ ห้องประชุม 901 – 902 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

     ปัจจุบันการระบาดหนักของปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การดูดเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร การหลอกลวงออนไลน์ผ่าน call center หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน หลอกให้ลงทุน และหลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน ข่าวปลอม (Fake news) เว็บสินค้าออนไลน์ เว็บพนันออนไลน์ เว็บสื่อลามกออนไลน์ และเว็บหาคู่ออนไลน์ เป็นต้น สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่เด็กหรือเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ส่งผลกระทบในหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ติดตามเฝ้าระวังและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ที่หน่วยงานรัฐได้ดำเนินการเพื่อป้องปราม ยับยั้ง และเยียวยาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนหยิบยกปัญหากรณีความปลอดภัยทางไซเบอร์ (ประเด็นการพนันออนไลน์และการหลอกลวงประชาชนผ่านแก๊งคอลเซ็นเตอร์) ขึ้นมาพิจารณาเป็นเรื่องร้องเรียน โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือในการดำเนินงานหลายครั้ง ดังนั้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามจากอาชญากรรมไซเบอร์ พร้อมสื่อสารไปยังประชาชนให้รับทราบถึงมาตรการป้องกันตอบโต้ และการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้บูรณการการทำงานร่วมกัน รวมถึงเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม (Place of Justice) ภายใต้โครงการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคประชาชน อันจะนำไปสู่การวางแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้ตรงจุดต่อไป

     กิจกรรมในวันนี้เป็นการเสวนาหัวข้ออาชญากรรมไซเบอร์กับบทบาทผู้ตรวจการแผ่นดินในยุคดิจิทัลโดยมีผู้ร่วมเสวนาอีก 4 ท่าน ได้แก่ นายสัจจะ โชคบุญส่งสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ...เจษฎา บุรินทร์สุชาติ ผู้กำกับการกลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ก่อตั้ง โคแฟค ประเทศไทย และ ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการเสวนาด้วย จากนั้นเป็นช่วงการแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ต่อด้วยการบรรยายเรื่องรู้ทันการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทางไซเบอร์โดย นางสาวกุลธิดา สามะพุทธิ บรรณาธิการ โคแฟค ประเทศไทย และทีมงาน ภายในงานมีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คน จากธนาคารในประเทศไทยทุกแห่ง มหาวิทยาลัยภาครัฐ และเอกชนในกรุงเทพหานคร บริษัทเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายภาคประชาสังคมของกรุงเทพมหานคร สภาทนายความ องค์กรอิสระ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเปิดให้เข้าร่วมงานและแสดงความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook : สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมีผู้เข้าร่วมจากกระทรวง ทบวง กรม มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป กว่า 1,600 คนทั่วประเทศ

     ทั้งนี้ จากข้อมูลศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566 พบว่า มีการแจ้งความผ่านระบบ www.thaipoliceonline.com  จำนวน 296,243 เรื่อง แจ้งความผ่านสายด่วน 1441 จำนวน 107,778 สาย และแจ้งความที่หน่วยงาน จำนวน 40,310 เรื่อง โดย 5 อันดับความเสียหายสูงสุดนั้นเป็นกรณีการหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการไม่เป็นขบวนการมากที่สุด จำนวน 100,694 คดี รองลงมาเป็นกรณีหลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน จำนวน 36,896 คดี กรณีหลอกให้กู้